วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันที่07 ตุลาคม พ.ศ.2557 ครั้งที่8


แบบบันทึกอนุทิน 




       กิจกรรมภายนห้องเรียน
         
           แบ่งกลุ่มจัดทำสื่อ



 

ผลงานสื่อ การ์ตูนปากขยับ
ผลงานสื่อ สัตว์น้ำโยกเยก
สรุป
สื่อการ์ตูนปากขยับ และสัตว์น้ำโยกเยกสามารถนำไปประยุกช์เป็นสื่อประกอบการเล่านิทาน  ใช้เป็นภาพประกอบการสอนหน่วยการ์ตูนที่เด็กๆชื่นชอบ และหน่วยสัตว์น้ำได้

วันที่3 ตุลาคม พ.ศ.2557 ครั้งที่7


แบบบันทึกอนุทิน 

ศึกษาดูงานนอกสถานที่
ณ "ศึกษาพัณฑ์ภาณิช"


                ภาพบรรยากาศ


การเดินทางทางเรือ


ลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร์


สรุป
การศึกษานอกสถานที่เป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกตำราเรียน การฝึกประสบการณ์ และการแนะนำแหล่งรวบรวมสื่อที่หลากหลาย  เพื่อความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูล และความสะดวกรวดเร็วในการจัดหาสื่ออุปกรณ์การเรียนต่างๆ หลากหลายรูปแบบ

วันที่23 กันยายน พ.ศ.2557 ครั้งที่6


แบบบันทึกอนุทิน 

เข้าร่วมสัมนาในหัวข้อ "จิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรฐกิจพอเพียง"
โดย คุณ ปอ ทฤษฎี  สหวงษ์ 





สรุป
 การเข้ารับการอบรบจิตอาสาด้านการดูแลสัตว์ และปลูกจิตสำนึกการรักสัตว์ตามรอยพระราชดำริเศรฐกิจพอเพียง

วันที่16 กันยายน พ.ศ.2557 ครั้งที่5


แบบบันทึกอนุทิน 

นิทานเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยะธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย


 กิจกรรมในห้องเรียน
             
               แบ่งกลุ่มจัดทำสื่อ นิทานขยับได้


        








สรุป
การจัดทำสื่อนิทาน เรื่อง มดกตัญญู สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถช่วยส่งเสริมทักษะด้านภาษาของเด็กได้ การจัดทำสื่อให้มีความหลากหลายแปลกใหม่ช่วยกระตุ้นความสนใจให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก



วันที่09 กันยายน พ.ศ.2557 ครั้งที4


แบบบันทึกอนุทิน 

                
        จัดทำสื่อ ระบายสี + ปากขยับได้
                       
                  อุปกรณ์
                     - กระดาษ
                     - กรรไกร
                     - สี

                 วิธีทำ
                    - ระบายสีรูปภาพ
                    - พับกระดาษเป็นสองส่วน(พับครึ่ง)
                    - ตัดกระดาษตามแนวตรงบริเวณปาก เพียงเล็กน้อย
                    - พับกระดาษส่วนที่่ตัดตามแนวตรง เป็นรูปสามเหลี่ยมทั้งสองด้าน
                    - คลี่กระดาษออก แล้วพับครึ่งอีกด้าน
                    - นำกระดาษแข็งมาติดทับด้านหลัง เว้นส่วนที่เป็นปาก

        จัดทำสื่อ ระบายสี + ไก่ออกไข่
                         
                   อุปกรณ์
                      - กระดาษ
                      - กรรไกร
                      - สี
                      - มีดคัตเตอร์

                   วิธีทำ
                     - ระบายสีไก่
                     - พับกระดาษเป็นสองส่วน(พับครึ่ง)
                     - ตัดกระดาษตามเส้นประ ด้านหลัง
                     - วาดภาพไข่ตามต้องการ
                     - ใช้มีดคัตเตอร์กรีดส่วนก้นของไก่ ขนาดพอที่จะสอดกระดาษที่ตัดตามเส้นประได้

วันที่2 กันยายน พ.ศ.2557 ครั้งที่3


แบบบันทึกอนุทิน 

                          
             การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
                  เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากรูปธรรม => นามธรรม โดยผ่านการเล่นผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
               
                1.  การเรียนรู้เด็กปฐมวัยด้วยองค์ความรู้ด้านสมอง และทฤษฏีพหุปัญญา
                      1.1 ปัญาทางด้านภาษา
                      1.2 ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
                      1.3 ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
                      1.4 ปัญญาด้านดนตรี
                      1.5 ปัญญาด้านนิติสัมพันธ์
                      1.6 ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
                      1.7 ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์
                      1.8 ปัญญาทางด้านความสัมพันธ์กับธรรมชาติ

           ลักษณะของสื่อ
               ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้แบ่งสื่อออกเป็น 3 ประเภท
       
              1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่ม
                  1.1 วัสดุการสอนที่ครูจัดทำหรือจัดหามา
                  1.2 วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย
                        1.2.1 สิ่งพิมพ์
                        1.2.2 ภาพชุด
                        1.2.3 เทปโทรทัศน์
                        1.2.4 เทปเสียง
             2. สื่อการสอนประภทอุกรณ์
                 2.1 เครื่องเสียง
                 2.2 อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
                 2.3 อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้เสียงหรือใช้ภาพ
             3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
                 3.1 การสาธิต
                 3.2 การทดลอง
                 3.3 เกม
                 3.4 การแสดงบทบาทสมมุติ
                 3.5 การจำลองสถานการณ์
                 3.6 การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา
                 3.7 ทัศนคติ
                 3.8 กิจกรรมอิสระ
                 3.9 กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ

          ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
             1. มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
             2. มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดของมือเด็ก
             3. มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก
             4. ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
             5. มีสีสันสวยงามสดใส ไม่สะท้อนแสง
             6. มีความทนทาน น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าน ไม่แหลมคม
             7. มีรายละเอียดน้อย ง่าย (เหมาะสมกับวัย)
             8. มีลักษณะเป็นมิติ ซึ่งเด็กจะสนใจและเข้าใจได้ดีกว่า
             9. เป็นสื่อที่สอดคล้องกับเรื่องที่เด็กสนใจ และต้องการเรียนรู้
             10. สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบได้

          การจัดระบบสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
            1. การเลือกสื่อ
                1.1 มีความปลอดภัย สื่อที่จะสร้างขึ้นหนรือเลือกให้เด็กครูควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก
                      1.1.1 ต้องทำจากวัสดุท่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก
                      1.1.2 พื้นผิวของวัสดุเรียบ
                      1.1.3 ขนาดและน้ำหนักเหมาะสม
                1.2 คำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กได้รับ
                      1.2.1 เร้าให้เด็กอยากรู้อยากเห็น
                      1.2.2 กระตุ้นพัฒนาการ
                      1.2.3 ประโยชน์ที่มีต่อกล้ามเนื่อและการเคลื่อนไหว



กิจกรรมในห้องเรียน
     
       แบ่งกลุ่ม วิเคราะห์สื่อและของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย




ผลงานกลุ่ม

สื่อ ดินน้ำมัน

สรุป
          สื่อและของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีความปลอดภัย สามารถเล่นได้หลากหลาย และสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กให้ครบทุกด้าน การเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กจะช่วยให้พัฒนาการเป็นไปตามขั้น


วันที่26 สิงหาคม พ.ศ.2557 ครั้งที่2


แบบบันทึกอนุทิน 


 กิจกรรม
       เข้าร่วมงานศึกษาศาสตร์วิชาการ ของคณะศึกษาศาสตร์
   








วันที่19 สิงหาคม พ.ศ.2557 ครั้งที่1


แบบบันทึกอนุทิน 

                
  กิจกรรมในห้องเรียน        
   ปฐมนิเทศรายวิชา
   แนะนำรายละเอียดของแนวการสอน
   พูดคุยถึงข้อตกลง และความร่วมมือในการเรียนการสอน
   แจกแบบบันทึกการเข้าห้องเรียน
การเลือของเล่นเด็ก เสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย และผลต่อพัฒนาการที่จะตามมา ในขณะที่ผู้ผลิตของเล่นต่างแข่งขันผลิตออกมาขายจำนวนมาก บางครั้งผู้บริโภคไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์ใดที่เหมาะกับเด็ก หรือแม้แต่คำอธิบายจากตัวสินค้าก็ไม่ละเอียดพอที่จะเข้าใจ ทำให้บางคนซื้อของเล่น ให้ลูกเพราะคิดว่ามันน่าจะดีเท่านั้น
รศ.ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายว่า ช่วงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ถือได้ว่าเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกๆ ด้านของมนุษย์ ทั้งนี้ การเล่นและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย นับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นและของเล่นที่เหมาะสม
รศ.ดร.จิตตินันท์ บอกว่า เด็กปฐมวัยจะมีความสุขสนุกสนานกับการเล่นในชีวิตประจำวันตามความสนใจ และความพอใจของตนเอง ขณะที่เล่นนั้นเด็กได้ใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการสำรวจคุณสมบัติของสิ่งที่เล่น ไม่ว่าจะเป็นคนที่เล่นด้วยหรือวัตถุสิ่งของหรือของเล่น พร้อม ๆ ไปกับการรับรู้สิ่งที่เล่นผ่านอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการทำงานของสมองในการจดจำเป็นข้อมูลความคิดความเข้าใจต่อสิ่งนั้น
“เด็กจะค่อยๆซึมซับและเรียนรู้สิ่งต่างๆผ่านปฏิสัมพันธ์กับคนเล่นหรือของเล่น โดยเฉพาะเมื่อเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองและมีผู้คอยชี้แนะให้ข้อมูลหรือสอนให้รู้จักคำบอกของชื่อเรียกสิ่งต่างๆรอบตัว หรือความหมายของสิ่งเหล่านั้นทีละเล็กละน้อย จากเรื่องที่ง่ายๆไปสู่เรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น ตามความสามารถของวัย” การเลือกของเล่นที่ดีเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตามศักยภาพของเด็ก จึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากของเล่นเป็นสื่อกลางช่วยเปิดโลกภายในของเด็กออกสู่ภายนอก ทำให้เด็กได้ค้นพบความสามารถหรือความถนัดของตนเองด้วยตนเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้น ทว่าการเล่นของเล่นจะปราศจากความหมาย หากเด็กไม่ได้รับความสนใจเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดในการดูแลเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนการชี้แนะหรือเล่นร่วมกับเด็กเมื่อเด็กต้องการ
รศ.ดร.จิตตินันท์ ได้อธิบายถึงพฤติกรรมการเล่นของเด็ก ว่า เด็กวัย 0-1 ปี เด็กวัยนี้ในช่วงแรกเกิด – 3 เดือน จะยังไม่สนใจกับการเล่นมากนัก แต่เด็กจะเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสการมองเห็นและการได้ยิน การแขวนของเล่นที่สดใสที่แกว่งไกวแล้วมีเสียงกรุ๋งกริ๋งช่วยให้เด็กกรอกสายตา
ส่วนเด็กวัย 1-2 ปี เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองบ้างแม้จะไม่มั่นคงนักแต่ก็ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ของเล่นควรเป็นประเภทที่ลากจูงไปมาได้ ประเภทรถไฟหรือรถลาก
สำหรับเด็กวัย 2-4 ปี เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดีเพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงขึ้นมาก ทำให้ชอบเล่นที่ออกแรงมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่าย ม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อ
ส่วนเด็กวัย 4-6 ปี เด็กวัยนี้มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ชอบเล่นกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนามและเครื่องเล่นที่มีลูกล้อขับขี่ได้ เด็กพอใจที่จะเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มมากขึ้น นอกจากนี้
กิจกรรมการเล่นที่เหมาะสม ในเด็กวัย 0 – 1 ปี ควรจัดให้เป็นการเล่นหยอกล้อเด็กด้วยคำคล้องจองมีการแสดงสีหน้าท่าทางและใช้เสียงสูง ๆ ต่ำ ให้เด็กสนใจ เช่น การเล่นปูไต่ การเล่นจ๊ะเอ๋ การเล่นจับปูดำ การเล่นซ่อนหาของ เป็นต้น
ส่วนเด็กวัย 1-2 ปี ควรจัดให้เป็นการเล่นสำรวจที่ใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การให้เด็กบริหารแขนขา การเล่นดิน-ทราย-น้ำ การหยิบของตามคำบอก เป็นต้น
สำหรับเด็กวัย 2-4 ปี ควรจัดให้เด็กใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือผลงานทางศิลปะ เช่น การเล่นเป็นพ่อแม่ การเล่นขายของ การเล่นสร้างงานศิลปะ เป็นต้น
และเด็ก4-6 ปี ควรจัดให้เป็นการเล่นที่เด็กสามารถสะท้อนความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ เช่น การวาดภาพและเล่าเรื่องราว การแสดงบทบาทสมมติ การเล่นที่ใช้ทักษะการสังเกตเปรียบเทียบ
รศ.ดร.จิตตินันท์ แนะนำหลักการเลือกของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างง่ายๆ 4 ข้อคือ
1. ต้องดูที่ความปลอดภัยในการเล่นของเล่นอาจทำด้วยไม้ ผ้า พลาสติก หรือโลหะที่ไม่มีอันตรายเกี่ยวกับผิวสัมผัสที่แหลมคมหรือมีชิ้นส่วนที่หลุดหรือแตกหักง่าย ตลอดจนทำด้วยวัสดุที่ไม่มีพิษมีภัยต่อเด็ก
2.ประโยชน์ในการเล่น ของเล่นที่ดีควรช่วยเร้าความสนใจของเด็กให้อยากรู้อยากเห็น มีสีสันสวยงามสะดุดตาเด็ก มีการออกแบบที่ส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการ ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว
3.ประสิทธิภาพในการใช้เล่น ควรมีความยากง่ายเหมาะกับระดับอายุและความสามารถตามพัฒนาการของเด็ก ของเล่นที่ยากเกินไปจะบั่นทอนความสนใจในการเล่นของเด็กและทำให้เด็กรู้สึกท้อถอยได้ง่าย ส่วนของเล่นที่ง่ายเกินไปก็ทำให้เด็กเบื่อไม่อยากเล่นได้
และ 4.ความประหยัดทรัพยากร ของเล่นที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงหรือผลิต ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยยกตัวอย่างของเล่นที่ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวและการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น เครื่องเล่นสนามประเภท เสาชิงช้า ราวโหน ไม้ลื่น ไม้กระดาน อุโมงค์ บ่อทราย เครื่องเล่นที่มีล้อเลื่อนได้ เป็นต้น ของเล่นที่ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือและนิ้วมือ เช่น ของเล่นประเภทบีบ ตี เขย่า สั่น หมุน บิด ดึง โยน ผลัก เลื่อน เป็นต้น ของเล่นที่ฝึกทักษะการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน เช่น ของเล่นประเภทตอก กด ตี ปัก เย็บ ผูก กระดานปักหมุด ผูกเชือก ผูกโบว์ กรอกน้ำใส่ขวด เป็นต้น ของเล่นที่พัฒนาทักษะทางภาษา เช่น ภาพสัตว์ ผลไม้ ตัวพยัญชนะ เทปเพลง เป็นต้น ของเล่นที่ฝึกการสังเกต เช่น โดมิโน กระดานต่อภาพ กล่องหยอดบล็อกต่าง ๆ เป็นต้น ของเล่นที่ฝึกทักษะการแก้ปัญหาและใช้สมาธิ เช่น ภาพตัดต่อ ของเล่นชิ้นส่วนที่ประกอบเป็นสิ่งต่าง ๆ เกมค้นหาชิ้นส่วนที่หายไป เป็นต้นจะเห็นได้ว่าการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัยมีความหมายและความสำคัญต่อชีวิตเด็กอย่างมาก โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการเล่น ถือเป็นรากฐาน (foundation) ที่สะสมเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นในช่วงวัยต่อๆมา เด็กที่ขาดโอกาสในการเล่น หรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการเล่น ย่อมมีโอกาสที่จะประสบปัญหาในการเรียนรู้และมีพัฒนาการล่าช้าได้


                    ที่มา:  http://www.elegantkids.in.th


งานวิจัย : โครงการออกแบบสื่อการสอนรูปแบบเกมเสริมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย

ประเภทโครงการวิจัย:พัฒนาทดลอง (experimentaldevelopment) 
องค์ประกอบในการจัดทำโครงการวิจัย(ResearchProject)
1.ชื่อโครงการวิจัย (ชื่อ ภาษาไทย) โครงการออกแบบสื่อการสอนรูปแบบเกมเสริมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย
2.หน่วยงานที่รับผิดชอบงานวิจัยและที่อยู่ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
3.ผู้วิจัย นางสาว ภณิดา บุญมี 
4.ประเภทของงานวิจัย พัฒนาทดลอง (experimental development) 
5.สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาของโครงการวิจัย สาขาศิลปกรรม(ออกแบบนิเทศศิลป์)
6.คำสำคัญของเรื่องที่ทำการวิจัย แอปพลิเคชัน(application)เกมเสริมทักษะ สื่อการเรียนการสอน เด็กปฐมวัย

7.ความสำคัญและที่มาของปัญหา ที่ทำการวิจัยมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเรียนรู้ได้อย่างมหัศจรรย์ สามารถใช้
ความรู้นั้นเพื่อการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมของตนได้ ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้
ของมนุษย์คือ ช่วงแรกเกิดถึง 7 ปี หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์
ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80 % ของผู้ใหญ่ การจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้
ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการ
เหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ ดังนั้นการเล่นเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตเด็ก 
เพราะในขณะที่เด็กเล่นนอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นโอกาสให้เด็กได้แสวงหาความรู้ ความเข้าใจใน
สิ่งต่างๆด้วยตนเอง                                            
       สิ่งสำคัญที่เด็กควรเรียนรู้ในช่วงเวลานี้คงหนี้ไม่พ้นในเรื่องของภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีเมื่อเรียนในระดับ
สูงขึ้น อีกทั้งในปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเรียนรู้  
       ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงสารมารถสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนหรือเกม
เสริมทักษะต่างๆสำหรับเด็กที่น่าสนใจและหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางสื่อการสอนออนไลน์ 
หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆในแท็บเล็ต(tablet)และสมาร์ทโฟน(smartphone) ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้
เป็นอย่างดี  
       ผู้วิจัยจึงคิดที่จะทำการออกแบบเกมเสริมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ชุด ABCมหาสนุก เพื่อเป็น
สื่อการเรียนการสอน ที่ช่วยเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษเบื้องต้นให้เด็กปฐมวัย สามารถเรียนรู้ผ่านทางคอมพิวเตอร์
และสื่อออนไลน์ต่างๆ ซึ่งภายในประกอบด้วยแอนิเมชันประกอบเพลงABC เกมระบายสี และแบบทดสอบ เพื่อให้เด็ก
ได้รับทั้งความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความรู้ในเวลาเดียวกัน



        ที่มา: https://sites.google.com/site/panidaartthesis/researcherproject/prachid